วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

The Body Shop กับ Brand DNA

ความนิยมที่ The Body Shop และ Red Earth ได้รับจากการเป็นแบรนด์ที่ชูประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม บอกใบ้ถึงความสนใจของผู้บริโภคบางกลุ่ม ที่เริ่มมองว่าคุณค่าของแบรนด์มิได้อยู่บนการสื่อสารที่ฉาบฉวยและสวยหรูอีกต่อไป

The Body Shop จึงถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจของ Green Business ระดับโลก นั่นเพราะแนวคิดในการทำตลาดที่ไม่เพียงยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง แต่ยังคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อม ฝังเป็น Green DNA ที่ทำให้ The Body Shop แตกต่างจากคู่แข่งในตลาด Beauty & Cosmetics นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นมาในปี 1976





ที่สำคัญ The Body Shop ได้นำเอา Big Idea ของการใส่ใจในบริบทเกี่ยวกับชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมมาสร้างสรรค์เป็นแคมเปญ Cause-related Marketing (การตลาดโดยใช้ปัญหาสังคมเป็นประเด็นหลักของแคมเปญการสื่อสาร) ไม่ว่าจะเป็น Against Animal Testing: ที่ต่อต้านการทดลองกับสัตว์ ซึ่ง Aggressive และผลักดันให้เกิดแนวคิดของ Ethical Shopping (การช้อปปิ้งอย่างมีจริยธรรม)

ในแง่ของสิ่งแวดล้อมทาง Dame Anita Roddick ได้ประกาศเอาไว้เป็น Mission Statement เป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้วว่า “การดำรงตนเป็น Green Business คือ DNA ของ The Body Shop” การบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำภายในองค์กรจึงถูกดำเนินการอย่างชัดเจน

แผนก Environmental Project ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับไอเดียและเดินหน้ากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่ง แวดล้อม โดยถูกพูดถึงไปทั่วโลกด้วยการจับมือกับองค์กรอย่าง Greenpeace ครีเอทแคมเปญ “Save the Whale” จนภายหลังภาพลักษณ์ของการเป็นตัวแทน “Protect the Planet” ชัดเจนขึ้น The Body Shop Foundation จึงเกิดขึ้นเป็นมูลนิธิเพื่อสมทบทุนในโอกาสต่างๆ

จนกระทั่งในปี 2001 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ The Body Shop หยิบยกประเด็น Climate Change มาเป็นเป้าหมายในงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยจับมือกับพาร์ทเนอร์อย่าง Greenpeace ให้ร้านค้าและออฟฟิศในสหราชอาณาจักรของ The Body Shop เปลี่ยนมาใช้รูปแบบพลังงานที่เรียกว่า Ecotricity ซึ่งผลิตมาจากพลังงานทดแทน พร้อมกับบุกเบิกแนวทางของการใช้บรรจุภัณฑ์ Refill/Recycle เพื่อลดการใช้โดยขวด PET สำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์ทั้งหมดทำมาจากวัสดุรีไซเคิล 100% ซึ่ง The Body Shop ถือเป็นแบรนด์เครื่องสำอางระดับโลกแบรนด์แรกที่สามารถ Offer ทางเลือกสีเขียวนี้กับผู้บริโภค

ในปี 2008 The Body Shop ได้สั่งให้สาขาร้านค้าทั่วโลกเปลี่ยนจากที่ใช้ถุงพลาสติกมาเป็นถุงกระดาษ โดยพนักงานในร้านจะโปรโมทถุงผ้า Bag For Life ซึ่งใช้ได้นานกว่าไปด้วย โดยจะถามลูกค้าทุกครั้งที่ซื้อสินค้า เพราะมองว่า “แม้ว่าถุงกระดาษจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่ถ้าผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องทิ้งถุงเลย นั่นคือหนทางที่ดีที่สุด”



ความท้าทายครั้งสำคัญของ The Body Shop คือ การประกาศเป็น “Carbon Neutral Retailer” ภายในปี 2010 เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ และพยายามหาทางออกให้ทุกกระบวนการทำงานใช้พลังงานทดแทนให้ได้มากที่สุด โดยมุ้งเน้นไปที่ 1) การใช้พลังงานไฟฟ้าในสาขาร้านจำหน่ายสินค้า สำนักงาน และโกดังจัดเก็บสินค้า 2) ระบบการจัดส่งสินค้า และ 3) การเดินทางเพื่อทำธุรกิจโดยเครื่องบิน

ทว่า “ประสิทธิภาพ” เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่สำคัญสำหรับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของ The Body Shop ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ตัวเลข 93% ของระบบการจัดส่งทางรถยนต์ของธุรกิจใช้รถยนต์ไฮบริดเป็นหลัก แต่ทาง The Body Shop กลับไม่หยุดอยู่ที่การหันมาใช้รถไฮบริดเท่านั้น เพราะเป้าหมายของการลดพลังงานนั่นคือ ลดการใช้พลังงานโดยที่ไม่จำเป็น

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของการเป็น Carbon Neutral Retailer ภายในปี 2010 น่าจะเป็นอีก Movement สำคัญสำหรับธุรกิจ Beauty & Cosmetics อย่าง The Body Shop ในมิติการปกป้องรักษา DNA ของสิ่งแวดล้อมโลก


ที่มา: http://www.green.in.th/node/2063

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น